วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเป็นผู้นำ

ทฤษฎีการเป็นผู้นำ
(เอกสารที่ได้รับจากการอบรมวิทยากรพี่เลี้ยง 2 – 16 มกราคม 2548 ณ โรงแรมวินเซอ์ กทม.
ผู้นำทฤษฎี และปีที่คิดค้น

สรุปสาระสำคัญ

ทฤษฎีบุคคลผู้ยิ่งใหญ่
(Great-Man Theories)
Dowd (1936)สถาบันทางประวัติศาสตร์และสังคมย่อมได้รับอิทธิพลจากการเป็นผู้นำของบุคคล ผู้ยิ่งใหญ่ (เช่น โมเสส, พระมะหะหมัด, โจนออฟอาร์ก, วอชิงตัน, คานธี, เชอร์ชิล เป็นต้น) Dowd (1936) กล่าวว่า "การใช้มวลชนเป็น ผู้นำนั้นไม่เคยมีอยู่จริง ปัจเจกชนในทุกสังคม มีระดับปัญญา พลังงาน และพลังทางศีลธรรมแตกต่างกันไป และไม่ว่ามวลชนจะถูกอิทธิพลชักนำไปในทางใดก็ตาม ในท้ายที่สุดก็ย่อมถูกชักนำโดยคนเพียงไม่กี่คนที่เหนือกว่าพวกตน"

ทฤษฎีคุณลักษณะ
(Situational Theories)
L. l. Barnard (1926); Bingham (1927); Kilbourne (1935); Kirkpatrick & Locke (1991); Kohs & lrle (1920); Page (1935); Tead (1929)เนื่องจากผู้นำมีคุณสมบัติเฉพาะและบุคลิกลักษณะที่เหนือกว่าจึงทำให้แตกต่างจากผู้ตาม การวิจัยเรื่องทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำมุ่งตอบสองคำถามดังต่อไปนี้ ผู้นำมีลักษณะที่ต่างจากผู้อื่นอย่างไร และความแตกต่างนั้นมีอยู่มากน้อยเพียงใด

ทฤษฎีสถานการณ์(Situational Theorise)
Bogardus (1918); Hersey & Blanchard (1972); Hocking (1924); Person (1928); H. Spencer การเป็นผู้นำเป็นผลมาจากสถานการณ์ที่บีบบังคับ กล่าวคือปัจจัยทางสถานการณ์จะเป็นเครื่องตัดสินว่าใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำ ส่วนลักษณะเฉพาะของบุคคลที่มีมาแต่กำเนิดนั้นไม่ใช่เครื่องตัดสิน ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จึงเป็นผลมาจากเวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อม

ทฤษฎีบุคคล-สถานการณ์
(Personal-Situational Theories)Barnard (1938); Bass (1960); J.F. Brown (1936); Case (1933); C.A. Gibb (1947, 1954); Jenkins (1947); Lapiere (1938); Murphy (1941); Westburgh (1931)ทฤษฎีบุคคล-สถานการณ์แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้นำเกิดจากบุคคลผู้ยิ่งใหญ่มีคุณสมบัติเฉพาะที่ผู้อื่นไม่มี และเป็นผู้นำได้เนื่องจากสถานการณ์พาไป การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการศึกษาเรื่องการเป็นผู้นำควรพิจารณาเรื่องคุณสมบัติอารมณ์ ด้านความฉลาด และด้านการกระทำ ตลอดจนเงื่อนไขเฉพาะต่าง ๆ ที่มาจำกัดการปฏิบัติงานของบุคคลผู้นั้น เงื่อนไขดังกล่าวรวมถึง (1) คุณสมบัติเฉพาะเรื่องบุคลิกภาพ (2) ลักษณะธรรมชาติของกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม (3) เหตุการณ์ที่กลุ่มเผชิญอยู่

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(Psychoanalysis Theories) Erikson (1964); Frank (1939); Freud (1913, 1922); Fromm (1941); H. Levison (1970); Wolman (1971) ผู้นำทำหน้าที่เหมือนผู้เป็นพ่อ คือเป็นที่รัก
และเกรงขาม และเป็นตัวแทนของอภิอัตตา (superego) เป็นที่ให้ผู้ตามระบายอารมณ์ความรู้สึกคับข้องใจและความก้าวร้าว

ทฤษฎีมนุษยนิยม
(Humanistic Theories)
Argyris (1957, 1962, 1964); Blake & Mouton (1964, 1965); Hersey & Blanchard (1969, 1972); Likert (1961, 19670; Maslow (1965); McGregor (1960, 1966) ทฤษฎีมนุษย์นิยมว่าด้วยเรื่องพัฒนาการของบุคคลในองค์กรอย่างดี ทฤษฎีนี้เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทำอะไรตามแรงจูงใจ ส่วนองค์กรจะทำตามโครงสร้างและมีการควบคุม ดังนั้นการเป็นผู้นำก็คือการช่วยปรับข้อจำกัดขององค์กรเพื่อทำให้บุคคลมีเสรีภาพมากขึ้น สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพของตนและมีส่วนเกื้อกูลองค์กรได้

ทฤษฎีผู้นำ-บทบาท
(Leader-Role Theory)
Homans (1950); Kahn & Quinn (1970); Kerr & Jermier (1978); Mintzberg (1973); Osborn & Hunt (1975) ลักษณะของบุคคลและสถานการณ์ที่บีบบังคับทำให้บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้ กลุ่มต่าง ๆ จัดโครงสร้างตามการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม การจัดระเบียบภายในกลุ่มจึงเป็นไปตามบทบาทและตำแหน่งฐานะต่าง ๆ การเป็นผู้นำเป็นบทบาทหนึ่งที่แตกต่างจากบทบาทอื่น ๆ ในกลุ่ม และคนในกลุ่มก็คาดหวังให้ผู้นำมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากคนอื่นพฤติกรรมของผู้นำแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการรับรู้เรื่องบทบาท
ของตนและความคาดหวังที่ได้รับจากคนอื่น ๆ Mintzberg อธิบายบทบาทการเป็นผู้นำไว้ว่าคือ ผู้เป็นประธานแต่ในนาม ผู้นำ ผู้ประสานงาน ผู้ตรวจสอบ ผู้กระจายข้อมูล โฆษกขององค์กร ผู้ประกอบการ ผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรค ผู้จัดสรรทรัพยากร และผู้เจรจา

ทฤษฎีวิถีทาง-เป้าหมาย
(Path-Goal Theory)
M. G. Evans (1970); Georgopoulos, mahoney, & Jones (1957); House (1971); House & Dessler (1974) ผู้นำทำให้ผู้ตามเปลี่ยนแปลงตนเองโดยแสดงให้ผู้ตามเห็นพฤติกรรม (วิถีทาง) ที่ทำแล้วจะได้ผลตอบแทน ผู้นำยังทำให้ผู้ตามมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น ให้กำลังใจผู้ตามให้ทำหน้าที่ให้ดี ปัจจัยด้านสถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้นำจะบรรลุจุดมุ่งหมายที่เป็นวิถีทาง-เป้าหมายได้อย่างไร

ทฤษฎีสิ่งที่ไม่คาดหมาย
(Contingency Theory)
Fieldler (1967); Fiedler, Chemers, & Mahar (1976)ผู้นำที่เน้นภารกิจหรือความสัมพันธ์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิผลหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โครงการฝึกอบรมการเป็นผู้นำตามทฤษฎีนี้ช่วยให้ผู้นำระบุแนวทางของตนได้ และช่วยให้ปรับตัวตามสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยหรือไม่เอื้ออำนวยได้ดียิ่งขึ้น

การเป็นผู้นำโดยใช้ปัญญา : ทฤษฎีบุคคลผู้ยิ่งใหญ่
(Cognitive Leadership: Twentieth Century Great-Man)H. Gardner (1995)ผู้นำเป็น "บุคคลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความคิด และ/หรือความรู้สึกของเพื่อมนุษย์เป็นจำนวนมากได้ด้วยคำพูดหรือการทำตนเป็นตัวอย่าง" ความเข้าใจในธรรมชาติของจิตมนุษย์ทั้งของผู้นำและผู้ตามช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของการเป็นผู้นำได้

ทฤษฎีและแบบจำลองกระบวนการแบบโต้ตอบ : แบบจำลองการเชื่อมโยงทวีคูณ, แบบจำลองหลายหน้าจอ, แบบจำลองลักษณะการเป็นผู้นำที่เปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของผู้ตาม, ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน, ทฤษฎี Multiple-Screen Model, Vertical-Dyad Linkage, Exchange Theories, Behavior Theories, and Communication Theories)พฤติกรรม, และทฤษฎีการสื่อสาร(Theories and Models of Interactive Processes: Multiple-Linkage Model,
การเป็นผู้นำเป็นกระบวนการแบบโต้ตอบ เช่น ทฤษฎีเรื่องโครงสร้างความคิดริเริ่มของผู้นำความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดของผู้นำกับผลการทำงานของกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตามแต่ละคน และการโต้ตอบกันทางสังคมในฐานะรูปแบบหนึ่งของการแลกเปลี่ยนหรือการทำพฤติกรรมที่ไม่ได้คาดหมายมาก่อน

ทฤษฎีอำนาจ-อิทธิพล การเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วม เหตุผล-การอนุมาน (Power-Knfluence: Participative Leadership, Rationale Deductive)Coch & French (1948); J. Gardner (1990); Lewin, Lippitt, & White (1939); Vroom & Yetton (1974) การเป็นผู้นำแบบอำนาจ-อิทธิพลมีความหมายรวมถึงการเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วมการวิจัยเรื่องอำนาจ-อิทธิพลศึกษาว่าผู้นำมีอำนาจและใช้อำนาจมากน้อยเพียงไร และยังศึกษาเรื่องความเป็นสาเหตุแบบทิศทางเดียวอีกด้วยการเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันอำนาจและการให้อำนาจผู้ตาม Vroom & Yetton เสนอทฤษฎีการเป็นผู้นำแบบออกคำสั่งว่า ผู้นำเป็นผู้ออกคำสั่ง ส่วนลูกน้องเป็นผู้ทำตามโดยไม่โต้เถียง แต่เมื่อ
ผู้ตามมีความรู้มากขึ้นก็น่าจะมีส่วนร่วมได้มากขึ้น Gardner เชื่อว่า "การเป็นผู้นำเป็นกระบวนการโน้มน้าวจิตใจหรือทำตนเป็นตัวอย่าง โดยบุคคลที่เป็นผู้นำ (หรือกลุ่มผู้นำ) โน้มน้าวให้กลุ่มทำตามจุดประสงค์ที่ผู้นำกำหนดไว้ หรือจุดประสงค์ที่ผู้นำกับผู้ตามมีร่วมกัน" Gardner ชี้ว่าการเป็นผู้นำคือบทบาทหนึ่งที่จำเป็นต้องมี ดังนั้นผู้นำทั้งหลายจึงมีบทบาทสำคัญในระบบที่ตนนำอยู่
การเห็นคุณสมบัติ การประมวลสารสนเทศและระบบเปิด
(Attribution, Information Processing, and Open Systems)Bryon & Kelley (1978); Katz & Kahn (1966); Lord (1976,1985); Lord, Binning, Rush, & Thomas (1978)l Mitchell, Larsen, & Green (1977); Newell & Simon (1972); H.M. Weiss (1977)การเป็นผู้นำคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม Mitchell และคณะ กล่าวว่า "การที่ผู้สังเกตการณ์และสมาชิกกลุ่มเห็นว่าการจะเป็นผู้นำได้ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างไรบ้างนั้น ย่อมจะลำเอียงไปตามความเป็นจริงทางสังคมของแต่ละคน" ยิ่งกว่านั้นในการศึกษาเรื่องการเป็นผู้นำพบว่า ตัวแปรด้านบุคคล กระบวนการ โครงสร้างและสิ่งแวดล้อม ต่างเป็นปรากฎการณ์ที่เป็นสาเหตุและผลที่เกิดจากตัวแปรเหล่านี้จึงทำได้ยาก

ทฤษฎีบูรณาการ : เปลี่ยนแปลง, เน้นเรื่องค่านิยม (Integrative : Transformational, Value-Based)
Bass; Bennis (1984, 1992, 1993); Burns (1978); Downton (1973); Fairholm (1991); Otoole (1995); DePree (1992); Tichy & Devanna; Renesch Burnsกล่าวไว้ว่าการเป็นผู้นำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่ "ผู้นำและผู้ตามต่างยกระดับศีลธรรมและแรงจูงใจของกันและกันให้สูงยิ่งขึ้น" ผู้ตามควรจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในระยะยาว และพัฒนาความตระหนักรู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญ หน้าที่สามประการคือ ปรับแนวทางให้สอดคล้อง สร้างสรรค์และปลดปล่อยศักยภาพผู้นำจึงเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยการปรับให้ทรัพยากรอื่น ๆ ให้เอื้อต่อการแสดงความคิดเห็นโดยเสรี และปลดปล่อยศักยภาพผู้อื่นในการมีส่วนเกื้อกูลองค์กร Bernnis ได้ชื่อว่าเป็นผู้แยกแยะความแตกต่างระหว่างการจัดการและการเป็นผู้นำเป็นนิสสรุปความคิดของตัวเองได้ดีที่สุดว่า "ผู้นำคือผู้ทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วน
ผู้จัดการคือผู้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม"

ทฤษฎีการเป็นผู้นำด้วยบารมี
(Charismatic Leadership)Conger & Kanungu (1987); House (1977); Kets de Vries (1988); J. Maxwell (1999); Meindl (1990); Shamir, House & Arthur (1993); Weber (1947) การเป็นผู้นำด้วยบารมีถือเอาสมมติฐานว่า ผู้นำย่อมมีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นพิเศษตามความรับรู้ของผู้ตาม อิทธิพลของผู้นำไม่ได้อยู่ที่สิทธิอำนาจหรือธรรมเนียมประเพณี แต่อยู่ที่ความรับรู้ของผู้ตาม คำอธิบายต่าง ๆ เรื่องการเป็นผู้นำด้วยบารมี ครอบคลุมถึงประเด็นการเห็นคุณสมบัติ การสังเกตอย่างเป็นวัตถุวิสัย ทฤษฎี และการคล้อยตามกันในสังคม

ทฤษฎีเน้นความสามารถ
(Competency-Based Leadershiop)
Bennis (1993); Boyatizis; Cameron; Quinnคนเราเรียนรู้และปรับปรุงความสามารถสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผู้ทำงานได้ดีเยี่ยม (ผู้นำ) และผู้ทำงานได้ปานกลาง

ทฤษฎีการเป็นผู้นำที่มี
แรงบันดาลใจและมองการณ์ไกล
(Aspirational and Visionary Leadership)
Burns; Kouzes & Posner (1995); Peters; Waterman (1990); Richards & Engle (1986) Kouzes and Posner กล่าวว่า ผู้นำ "จุด" ไฟในการทำงานของผู้ตาม และทำหน้าที่เป็นเข็มทิศนำทางให้ผู้ตาม ทั้งสองคนนิยามการเป็นผู้นำไว้ว่า "การเป็นผู้นำคือการมีศิลปะในการชักจูงคนอื่น ๆ ให้ต้องการฟันฝ่าเพื่อบรรลุผลสมตามแรงบันดาลใจที่มีร่วมกัน" คำอธิบายนี้ได้เน้นถึงความปรารถนาของ
ผู้ตามในการมีส่วนร่วมเกื้อกูลองค์กร และความสามารถของ ผู้นำในการจูงใจให้ผู้อื่นลงมือกระทำ ผู้นำตอบสนองต่อลูกค้า สร้างวิสัยทัศน์ ให้พลังแก่ผู้ตามและเจริญรุ่งเรืองในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและ "สับสนวุ่นวาย" การเป็นผู้นำจึงเกี่ยวข้องกับการประกาศวิสัยทัศน์ให้ชัดแจ้ง เชิดชูและประพฤติตนตามค่านิยม ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ทำงานได้สำเร็จ

ทฤษฎีการเป็นผู้นำที่ใช้การจัดการและยุทธศาสตร์(Managerial and Strategic Leadership)
Drucker (1999); Jacobs & Jaques (1990); Jaques & Clement (1991); Kotter (1998, 1999) การเป็นผู้นำแสดงให้เห็นการบูรณาการโดยรวมหุ้นส่วนภายในและภายนอกองค์กรเข้าเป็นหนึ่งเดียว Drucker กล่าวว่า
การบูรณาการมีองค์ประกอบสามประการคือ ด้านการเงิน การทำงาน และบุคคล ผู้นำต้องรับผิดชอบผลการทำงานขององค์กรและรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรวม ผู้นำเป็นผู้มีบทบาทที่ต้องแสดงและมีบุคลิกลักษณะพิเศษKotler กล่าวไว้ว่า ผู้นำสื่อสารเรื่องวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์กร ทำให้ผู้คนทำงานสอดคล้องกัน คอยจูงใจ บันดาลใจและให้พลังแก่ผู้ตาม ผู้นำยังเป็นผู้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้ให้อำนาจแก่คนของตน ดังนั้นการเป็นผู้นำจึงเป็นกระบวนการให้จุดมุ่งหมาย (ทิศทางที่มีความหมาย) แก่ความพยายามร่วมกันของกลุ่มและกำกับให้กลุ่มใช้ความพยายามอย่างเต็มใจนั้นเพื่อการบรรลุเป้าหมาย การเป็นผู้นำที่ใช้การจัดการได้อย่างมีประสิทธิผลย่อมทำให้งานด้านการจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีเหล่านี้สนับสนุนการเป็นผู้นำท่ขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ บุคคลและสถานการณ์

ทฤษฎีเน้นผลลัพธ์
(Results-Based Leadership)Ulrich,, Zenger, & Smallwood (1999) Ulrich และคณะ เสนอแนวคิดเรื่องลักษณะการเป็นผู้นำที่ "อธิบายผลการทำงานอันชัดเจนที่ผู้นำทำให้เกิดขึ้น" และเชื่อมโยงผลนั้นกับบุคลิกลักษณะนิสัยของผู้นำ ผู้นำมีลักษณะเป็นผู้มีศีลธรรม มีความซื่อตรงต่อตนเองและมโนธรรม และเปี่ยมไปด้วยพลังงาน ทั้งยังมีความรู้ด้านเทคนิคและความคิดเชิงยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ผู้นำยังมีพฤติกรรมที่มีประสิทธิผลซึ่งนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และเนื่องจากเราสามารถวัดผลของการเป็นผู้นำได้ เราจึงสามารถสอนและเรียนวิธีการเป็นผู้นำได้

ทฤษฎีผู้นำที่แสดงบทบาทครู
DePree (1992); Tichy (1998) (Leader as Teacher) ผู้นำทำหน้าที่เป็นครูวาง "ทัศนะที่สอนกันได้" การเป็นผู้นำคือการจูงใจผู้อื่นด้วยยกตัวอย่างเรื่องราวต่างๆ เป็นอุทาหรณ์สอนใจ Tichy กล่าวว่าการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลก็เท่ากับการสอนที่มีประสิทธิผลนั้นเองการเป็นผู้นำเป็นศิลปะการแสดง
(Leadership as a Performing Art)DePree (1992); Mintzberg (1998); Vaill (1989) การเป็นผู้นำมีลักษณะปกปิดในแง่ที่ว่าผู้นำจะไม่ทำกิจเป็นผู้นำให้ปรากฏชัดแจ้ง (ตัวอย่างเช่น การจูงใจ การสอนทักษะ ฯลฯ) แต่จะทำกิจที่คนมักมองไม่ค่อยเห็น ซึ่งครอบคลุมไปถึงงานทุกอย่างที่ผู้นำหรือผู้จัดการทำ หากเราเปรียบเทียบการเป็นผู้นำกับศิลปะการแสดง ก็คงเปรียบได้กับวาทยกรที่กำกับของวงออเคสตราให้ประสนเสียงกันและวงดนตรีแจ๊สที่ต่างคนต่างด้นสด

ทฤษฎีการเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมและองค์รวม(Cultural and Holistic Leadership)
Fairholm (1994); Senge (1990); Schein (1992); Wheatley (1992) การเป็นผู้นำคือ ความสามารถที่จะก้าวพ้นวัฒนธรรมออกมาเพื่อเริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้องค์กรปรับตัวได้ง่ายขึ้น การเป็นผู้นำคือความสามารถรวมเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนสำคัญ ๆ ทำให้เกิดผู้ตาม และให้อำนาจแก่ผู้อื่น
แนวทางแบบองค์รวมของ Wheatley มีสมมติฐานว่าการเป็นผู้นำนั้นขึ้นกับบริบทและระบบ ผู้นำทำให้บุคคล องค์กร และ
สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับแบบผนึกพลัง ผู้นำสนับสนุนให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติตามวินัยห้าประการ
Senge กล่าวไว้ว่า ผู้นำมีสามบทบาทคือ เป็นผู้ออกแบบ ผู้ให้บริการ และครูผู้สอน

ทฤษฎีการเป็นผู้นำที่เป็นผู้รับใช้
(Servant Leadership)
Greenleaf (1996); Spears & Frick (1992) การเป็นผู้นำที่เป็นผู้รับใช้หมายความว่า ผู้นำย่อมรับใช้ผู้อื่น เช่น ลูกจ้าง ลูกค้า และชุมชน ผู้นำที่เป็นผู้รับใช้จะมีลักษณะรับฟังผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ รู้จักปลอบใจ มีความตระหนักในเรื่องต่าง ๆ ดี รู้จักจูงใจผู้ตาม รู้จักคิดอย่างมีมโนทัศน์ภาพรวม มีสายตากว้างไกล รู้จักบริการผู้อื่น ผูกพันมุ่งมั่นในการส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้อื่นและการสร้างชุมชน

ทฤษฎีการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ
(Spiritual Leadership)
DePree (1989); Etzioni (1993); Fairholm (1997); Greenleaf (1977); Hawley (1993); Kelfer (1992); J. Maxwell; Vaill (1989) การเป็นผู้นำคือการมีอิทธิพลต่อจิตใจผู้อื่นแทนที่จะคอยควบคุมการกระทำ Fairholm เชื่อว่าการเป็นผู้นำคือการเชื่อมโยงตนเองเข้ากับผู้อื่น นอกจากนี้ "เนื่องจากผู้นำผูกพันมุ่งมั่นดูแลบุคคลองค์กรรวม จึงต้องดูแลจิตใจของคนด้วย ผู้นำในศตวรรษใหม่ต้องคำนึงถึงและพยายามสร้างความการเชื่อมโยงเหล่านี้สำหรับตนเองก่อน แล้วจากนั้นจึงช่วยผู้ตามสร้างความเชื่อมโยงเหล่านี้ด้วยเช่นกัน" อิทธิพลของผู้นำจึงมาจากความรอบรู้เรื่องวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ค่านิยม และประเพณีองค์กร

EQ

ความฉลาดทางอารมณ์*
(Emotional Quotient, EQ)
ชัด บุญญา
สิ่งที่คนฉลาดทางอารมณ์ คิด รู้สึก ทำ
1.คอยได้ เพื่อให้ลุเป้าหมายที่พอใจ
2.เมื่อถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ จะอธิบายเหตุผลจนผู้อื่นยอมรับได้
3.จะสังเกตได้ เมื่อคนใกล้ชิด อารมณ์เปลี่ยนแปลง
4.ยอมรับได้ว่าผู้อื่นก็มีเหตุผล ที่ไม่พอใจในการประทำของตนเอง
5.แม้มีภาระกิจที่ต้องทำก็ยินดีรับฟังความทุกข์ของผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ
6.เมื่อทำผิด ก็สามารถกล่าวคำขอโทษได้
7.แม้จะเสียประโยชน์ส่วนตัวไปบ้างก็ยินดี หากเพื่อส่วนรวม
8.เมื่อเจอกับปัญหา อุปสรรค ก็จะไม่ยอมแพ้
9.พยายามหาสาเหตุของปัญหา โดยไม่คิดเอาเองตามใจชอบ
10.เมื่อต้องทำอะไรหลายอย่างพร้อม ก็ตัดสินใจได้ว่า จะทำอะไรก่อนหลัง
11.สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ดีที่สุด
12.ทุกปัญหามักมีทางออกเสมอ
13.แม่สถานการณ์จะเลวร้าย ก็มักจะมีความหวังว่าจะต้องดีขึ้น
14.แม้รู้สึกไม่สบายใจ ก็จะมีวิธีผ่อนคลายอารมณ์ได้
15.เมื่อว่างเว้นจากภาระหน้าที่ ก็จะทำในสิ่งที่ชอบ


* จาก แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ครูอาชีพ กับ อาชีพครู

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวถึงครูอาชีพว่า คือ ครูที่เป็นครูด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ มีความเป็นครูทุกลมหายใจตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นครูที่รักและหวงแหน ห่วงใย อาทร ต่อนักเรียน ต่อศิษย์ดุจลูกในไส้ของตนเอง จะทำทุกวิถีทางที่จะให้ศิษย์เป็นคนดี ไม่ยินยอมให้ศิษย์เป็นคนไม่ดีเป็นอันขาด จะติดตามสอดส่องศิษย์ทุกเมื่อเชื่อวันโดยไม่ละทิ้งและมีความสุขมากในการที่ได้เกิดมาเป็นครู รักเกียรติเทิดทูนสถาบันครูอย่างภาคภูมิใจ 1 และ ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้สรุปว่า ครูอาชีพ คือครู ที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านที่จะเป็นครู มีความประพฤติดี วางตัวดี เอาใจใส่ดูแลศิษย์ดี มีวิญญาณของความเป็นครู และปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู 2
ส่วนคำว่า อาชีพครู พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้อธิบายว่า อาชีพครู คือครูที่ใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ ไม่ได้เป็นครูด้วยความรักสมัครใจ ครูประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิชาครู ไม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจวิชาที่ตนสอนมากนัก แค่สอนจบไปวัน ๆ หนึ่งก็พอแล้ว ศิษย์จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ช่างศิษย์ ไม่สนใจ ขอให้มีเงินเดือนตามวิทยฐานะก็พอ ศิษย์จะดีไม่ดีไม่เป็นธุระ บางคนก็หาอาชีพเสริมทำ เช่น รับจ้างสอนพิเศษ บางรายหนักลงไปอีกถึงรับจ้างแทงหวย จนแม้แต่ขายยาบ้าก็มี ครูประเภทนี้รัฐได้ประโยชน์ตอบแทนไม่คุ้มค่าและหลายรายนำความเสียหายมาสู่สถาบันอีกโสดหนึ่งด้วย 3 คนที่มีลักษณะเป็นอาชีพครู คือคนที่มายึดการเป็นครูเป็นอาชีพเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู ซึ่งขณะนี้ครูของไทยมีลักษณะอาชีพครูเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นเงื่อนไขที่จะทำลายความหวังของการปฏิรูปการศึกษา เพราะครูคือความหวังที่จะนำสู่ความสำเร็จ
ของการปฏิรูปการศึกษา
ทุกคนได้ให้ความสำคัญกับครูอาชีพ และจากเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ให้ความสำคัญและถือว่าครูเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศชาติ จึงมีบทบัญญัติว่า ครูซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ต้องผ่านระบบการควบคุมเพื่อให้เป็นครูอาชีพ เช่น การให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีองค์กรวิชาชีพครู มีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อให้เป็นครูอาชีพอย่างแท้จริง โดยมีกลไกที่จะส่งเสริมให้ครู มีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง มีระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน มีค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะ ทางสังคมและวิชาชีพเป็นการเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อชี้ให้เห็นว่าขณะนี้ปัญหาของคุณภาพการศึกษาส่วนหนึ่งมาจากคนที่มีอาชีพครู และมีความพยายามที่จะกำหนดแนวทางที่แก้ปัญหาเหล่านี้

แนะ"สคบศ."ปรับทางพัฒนาครู

นายพรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) ว่า ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันต่อยุคสมัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จึงจะต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้สถาบันคงไว้ซึ่งความสำคัญและความจำเป็นตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยหน้าที่หลักที่สำคัญของสถาบัน คือการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และจะต้องเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโดยใช้เครือข่ายด้วย ดังนั้น สถาบันควรจะปรับรูปแบบการให้บริการจากเดิมที่มีลักษณะด้านผลิต ให้เป็นด้านตามความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อเน้นการทำงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก รวมทั้งหันกลับมาวิเคราะห์สถาบันว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ตลอดจนวิเคราะห์โครงสร้างว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

นายพรหมสวัสดิ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดในพัฒนาการครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา คือ บุคลากรทุกฝ่ายต้องร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อขับเคลื่อนหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะตำแหน่งครู

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะตำแหน่งครู

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จุฬาฯ ซัด สมศ.ยุ่งประเมินหลักสูตร จี้ย้อนดูบทบาทตัวเองเป็นแค่คนนอก

จุฬาฯ ข้องใจ สมศ.จัดอันดับมหา’ลัยได้อะไร จวกไม่ควรยุ่งประเมินหลักสูตร จี้ย้อนดูบทบาทผู้ประเมินภายนอกของตัวเอง ควรมุ่งดูผลลัพธ์และผลกระทบ ชี้เอาลำดับเป็นตัวตั้งยิ่งไม่ดีต่อมหา’ลัย

วันนี้(1 ก.ย.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแถลงข่าวเรื่อง “ประเมินคุณภาพและจัดอันดับมหาวิทยาลัย ถูกต้องเป็นธรรมจริงหรือ?” โดย ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี (ด้านการจัดการคุณภาพ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เกณฑ์การประเมินคุณภาพจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ไม่ควรเน้นการประเมินในระดับกระบวนการ แต่ควรมุ่งเน้นในระดับผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบมากกว่า เพราะจุดยืนของสมศ. คือ ผู้ประเมินภายนอก ส่วนระดับกระบวนการภายใน ควรปล่อยให้สำนักการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นผู้ทำหน้าที่แทนสมศ. ไม่ควรเข้าประเมินหลักสูตรอย่างเด็ดขาด

“สม ศ.ไม่ควรประเมินภาพที่เน้นภาพรวมของสถาบัน หรือแม้แต่ในระดับกลุ่มสาขา ด้วยเกณฑ์เดียวกัน เพราะต่างสถาบัน บริบทก็จะต่างกันเกินจะเทียบเคียงได้ แต่หากเป็นการประเมินที่ระดับสาขา เช่น แพทย์เทียบแพทย์ ทันตแพทย์เทียบทันตแพทย์ ซึ่งอาจจะเกิดภาพสะท้อนที่ดีกว่า

ไม่ควรเป็นไปเพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยเด็ดขาด เพราะหากเริ่มที่จะจัดลำดับเป็นตัวตั้งการออกแบบ และการกำชับใช้ระบบจะเป็นปัญหา ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อมหาวิทยาลัย” ผู้ช่วยอธิการบดี (ด้านการจัดการคุณภาพ) กล่าว

ผศ.ประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำการประเมินควรกำหนดแนวทางส่งเสริม และยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยใน 3 ระดับ ดังนี้ ขั้นต่ำ ขั้นสูงเกินมาตรฐาน และขั้นชั้นแนวหน้า และที่สำคัญการประเมินศักยภาพบัณฑิต จากระบบประเมินความพอใจของผู้ใช้บัณฑิต จากเดิมที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำผลมารายงานต่อ สมศ.ควรเปลี่ยนเป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งนอกจากจะเกิดความเป็นธรรมแล้ว ยังเป็นบรรทัดฐานที่พอจะเปรียบเทียบได้ ยิ่งไปกว่านั้นเท่ากับเป็นการติดตามสถานการณ์ความต้องการแรงงานของประเทศ การพัฒนาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ขณะที่ ผศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึง บทบาทของสถาบันการศึกษาที่มีผลของการประเมินคุณภาพและจัดอันดับมหาวิทยาลัย ว่า ปัจจุบันบรรยากาศของมหาวิทยาลัยนับวันจะยิ่งแข่งขันกันเอง สถาบันจัดอันดับส่วนใหญ่มักไม่เปิดเผยวิธีการรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลที่ใช้ในการจัดอันดับที่ชัดเจน

“การจัดอันดับแต่ละครั้งไม่ได้ครอบคลุมมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ในขณะเดียวกัน บางสถาบันก็ไม่ได้สมัครใจ ซึ่งผลที่ได้จึงไม่ปรากฏว่ามีเกณฑ์กลางหรือตัวชี้วัดที่สามารถวัดคุณภาพ ของมหาวิทยาลัยได้ครบถ้วน ทุกด้าน เพราะการจัดอันดับแต่ละสถาบันมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน” ผศ.ดร.รัฐชาติ กล่าว




ที่มา - ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ตุลาคม 2552 20:52 น.

รมช."นริศรา"สานต่อพ.ร.บ.การอาชีวศึกษา หนุนสายอาชีพเรียน ป.โท-เอก

น.ส.นริศ รา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่าทางอาชีวศึกษามีแค่ปวช.ซึ่งเทียบเท่าม.6 ก็สามารถต่ออนุปริญญาก็คือ ปวส.1-2 เท่านั้น ถ้าเรียนสายอาชีพระดับการศึกษาการเรียนพื้นฐานจะต่างกัน ในการเรียนสายอาชีพจะมีการฝึกอาชีพ 50 เปอร์เซ็นต์ ถึง 70 เปอร์เซ็นต์

ที่มา - ข่าวสดรายวัน หน้า 29 - วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6881

http://www.kruthai.info/main/board03_/show.php?Category=newsedu&No=277