วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ครูอาชีพ กับ อาชีพครู

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวถึงครูอาชีพว่า คือ ครูที่เป็นครูด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ มีความเป็นครูทุกลมหายใจตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นครูที่รักและหวงแหน ห่วงใย อาทร ต่อนักเรียน ต่อศิษย์ดุจลูกในไส้ของตนเอง จะทำทุกวิถีทางที่จะให้ศิษย์เป็นคนดี ไม่ยินยอมให้ศิษย์เป็นคนไม่ดีเป็นอันขาด จะติดตามสอดส่องศิษย์ทุกเมื่อเชื่อวันโดยไม่ละทิ้งและมีความสุขมากในการที่ได้เกิดมาเป็นครู รักเกียรติเทิดทูนสถาบันครูอย่างภาคภูมิใจ 1 และ ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้สรุปว่า ครูอาชีพ คือครู ที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านที่จะเป็นครู มีความประพฤติดี วางตัวดี เอาใจใส่ดูแลศิษย์ดี มีวิญญาณของความเป็นครู และปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู 2
ส่วนคำว่า อาชีพครู พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้อธิบายว่า อาชีพครู คือครูที่ใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ ไม่ได้เป็นครูด้วยความรักสมัครใจ ครูประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิชาครู ไม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจวิชาที่ตนสอนมากนัก แค่สอนจบไปวัน ๆ หนึ่งก็พอแล้ว ศิษย์จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ช่างศิษย์ ไม่สนใจ ขอให้มีเงินเดือนตามวิทยฐานะก็พอ ศิษย์จะดีไม่ดีไม่เป็นธุระ บางคนก็หาอาชีพเสริมทำ เช่น รับจ้างสอนพิเศษ บางรายหนักลงไปอีกถึงรับจ้างแทงหวย จนแม้แต่ขายยาบ้าก็มี ครูประเภทนี้รัฐได้ประโยชน์ตอบแทนไม่คุ้มค่าและหลายรายนำความเสียหายมาสู่สถาบันอีกโสดหนึ่งด้วย 3 คนที่มีลักษณะเป็นอาชีพครู คือคนที่มายึดการเป็นครูเป็นอาชีพเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู ซึ่งขณะนี้ครูของไทยมีลักษณะอาชีพครูเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นเงื่อนไขที่จะทำลายความหวังของการปฏิรูปการศึกษา เพราะครูคือความหวังที่จะนำสู่ความสำเร็จ
ของการปฏิรูปการศึกษา
ทุกคนได้ให้ความสำคัญกับครูอาชีพ และจากเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ให้ความสำคัญและถือว่าครูเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศชาติ จึงมีบทบัญญัติว่า ครูซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ต้องผ่านระบบการควบคุมเพื่อให้เป็นครูอาชีพ เช่น การให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีองค์กรวิชาชีพครู มีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อให้เป็นครูอาชีพอย่างแท้จริง โดยมีกลไกที่จะส่งเสริมให้ครู มีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง มีระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน มีค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะ ทางสังคมและวิชาชีพเป็นการเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อชี้ให้เห็นว่าขณะนี้ปัญหาของคุณภาพการศึกษาส่วนหนึ่งมาจากคนที่มีอาชีพครู และมีความพยายามที่จะกำหนดแนวทางที่แก้ปัญหาเหล่านี้

แนะ"สคบศ."ปรับทางพัฒนาครู

นายพรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) ว่า ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันต่อยุคสมัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จึงจะต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้สถาบันคงไว้ซึ่งความสำคัญและความจำเป็นตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยหน้าที่หลักที่สำคัญของสถาบัน คือการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และจะต้องเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโดยใช้เครือข่ายด้วย ดังนั้น สถาบันควรจะปรับรูปแบบการให้บริการจากเดิมที่มีลักษณะด้านผลิต ให้เป็นด้านตามความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อเน้นการทำงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก รวมทั้งหันกลับมาวิเคราะห์สถาบันว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ตลอดจนวิเคราะห์โครงสร้างว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

นายพรหมสวัสดิ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดในพัฒนาการครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา คือ บุคลากรทุกฝ่ายต้องร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อขับเคลื่อนหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะตำแหน่งครู

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะตำแหน่งครู

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จุฬาฯ ซัด สมศ.ยุ่งประเมินหลักสูตร จี้ย้อนดูบทบาทตัวเองเป็นแค่คนนอก

จุฬาฯ ข้องใจ สมศ.จัดอันดับมหา’ลัยได้อะไร จวกไม่ควรยุ่งประเมินหลักสูตร จี้ย้อนดูบทบาทผู้ประเมินภายนอกของตัวเอง ควรมุ่งดูผลลัพธ์และผลกระทบ ชี้เอาลำดับเป็นตัวตั้งยิ่งไม่ดีต่อมหา’ลัย

วันนี้(1 ก.ย.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแถลงข่าวเรื่อง “ประเมินคุณภาพและจัดอันดับมหาวิทยาลัย ถูกต้องเป็นธรรมจริงหรือ?” โดย ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี (ด้านการจัดการคุณภาพ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เกณฑ์การประเมินคุณภาพจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ไม่ควรเน้นการประเมินในระดับกระบวนการ แต่ควรมุ่งเน้นในระดับผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบมากกว่า เพราะจุดยืนของสมศ. คือ ผู้ประเมินภายนอก ส่วนระดับกระบวนการภายใน ควรปล่อยให้สำนักการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นผู้ทำหน้าที่แทนสมศ. ไม่ควรเข้าประเมินหลักสูตรอย่างเด็ดขาด

“สม ศ.ไม่ควรประเมินภาพที่เน้นภาพรวมของสถาบัน หรือแม้แต่ในระดับกลุ่มสาขา ด้วยเกณฑ์เดียวกัน เพราะต่างสถาบัน บริบทก็จะต่างกันเกินจะเทียบเคียงได้ แต่หากเป็นการประเมินที่ระดับสาขา เช่น แพทย์เทียบแพทย์ ทันตแพทย์เทียบทันตแพทย์ ซึ่งอาจจะเกิดภาพสะท้อนที่ดีกว่า

ไม่ควรเป็นไปเพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยเด็ดขาด เพราะหากเริ่มที่จะจัดลำดับเป็นตัวตั้งการออกแบบ และการกำชับใช้ระบบจะเป็นปัญหา ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อมหาวิทยาลัย” ผู้ช่วยอธิการบดี (ด้านการจัดการคุณภาพ) กล่าว

ผศ.ประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำการประเมินควรกำหนดแนวทางส่งเสริม และยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยใน 3 ระดับ ดังนี้ ขั้นต่ำ ขั้นสูงเกินมาตรฐาน และขั้นชั้นแนวหน้า และที่สำคัญการประเมินศักยภาพบัณฑิต จากระบบประเมินความพอใจของผู้ใช้บัณฑิต จากเดิมที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำผลมารายงานต่อ สมศ.ควรเปลี่ยนเป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งนอกจากจะเกิดความเป็นธรรมแล้ว ยังเป็นบรรทัดฐานที่พอจะเปรียบเทียบได้ ยิ่งไปกว่านั้นเท่ากับเป็นการติดตามสถานการณ์ความต้องการแรงงานของประเทศ การพัฒนาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ขณะที่ ผศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึง บทบาทของสถาบันการศึกษาที่มีผลของการประเมินคุณภาพและจัดอันดับมหาวิทยาลัย ว่า ปัจจุบันบรรยากาศของมหาวิทยาลัยนับวันจะยิ่งแข่งขันกันเอง สถาบันจัดอันดับส่วนใหญ่มักไม่เปิดเผยวิธีการรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลที่ใช้ในการจัดอันดับที่ชัดเจน

“การจัดอันดับแต่ละครั้งไม่ได้ครอบคลุมมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ในขณะเดียวกัน บางสถาบันก็ไม่ได้สมัครใจ ซึ่งผลที่ได้จึงไม่ปรากฏว่ามีเกณฑ์กลางหรือตัวชี้วัดที่สามารถวัดคุณภาพ ของมหาวิทยาลัยได้ครบถ้วน ทุกด้าน เพราะการจัดอันดับแต่ละสถาบันมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน” ผศ.ดร.รัฐชาติ กล่าว




ที่มา - ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ตุลาคม 2552 20:52 น.

รมช."นริศรา"สานต่อพ.ร.บ.การอาชีวศึกษา หนุนสายอาชีพเรียน ป.โท-เอก

น.ส.นริศ รา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่าทางอาชีวศึกษามีแค่ปวช.ซึ่งเทียบเท่าม.6 ก็สามารถต่ออนุปริญญาก็คือ ปวส.1-2 เท่านั้น ถ้าเรียนสายอาชีพระดับการศึกษาการเรียนพื้นฐานจะต่างกัน ในการเรียนสายอาชีพจะมีการฝึกอาชีพ 50 เปอร์เซ็นต์ ถึง 70 เปอร์เซ็นต์

ที่มา - ข่าวสดรายวัน หน้า 29 - วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6881

http://www.kruthai.info/main/board03_/show.php?Category=newsedu&No=277

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

บทความเกียวกับการพัฒนาหลักสูตรแกนกลาง

บทความเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรแกนกลาง 2551 ที่บอกแนวทางการพัฒนาหลักสูตร และบทบาทหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับ สพฐ. จนถึง สถานศึกษา โดย ดร.รุ่งนภา นุตราวงศ์

http://www.curriculum51.net/upload/cur_20090609101835.pdf

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับแก้ไขจ่อคลอด

พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับแก้ไขจ่อคลอด บุคลากร-ลูกจ้างเตรียมเฮได้กลับเข้าประกันสังคม

นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขร่างพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคลากรและลูกจ้างของโรงเรียนเอกชน อาทิ ภารโรง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คนขับรถ คนสวน ไม่สามารถเข้ากองทุนประกันสังคมได้นั้น หากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะทำให้บุคลากรและลูกจ้างกลุ่มนี้กลับเข้าสู่กองทุนประกันสังคมได้ตามมาตรา 33 ของพ.ร.บ.ประกันสังคมเหมือนเดิม และสามารถนับระยะเวลาส่งเงินสมทบต่อเนื่องกับระยะเวลาที่ส่งมาแล้วเดิมให้มีสิทธิตามที่กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมกำหนด และอยู่ภายในกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนต่อไปด้วย แต่บุคลากรและลูกจ้างจะต้องแจ้งความจำนงกลับเข้าสู่กองทุนประกันสังคมภายใน 150 วันหลังจากพ.ร.บ.มีผลบังคับใช้"ในระหว่างที่ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่มีการประกาศใช้ บุคลากรและลูกจ้างของโรงเรียนเอกชน ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของพ.ร.บ.ประกันสังคมไปก่อน และหากเป็นครูก็เข้ากองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนได้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาทุกฝ่ายต่างพยายามช่วยแก้ปัญหานี้กันอย่างเต็มที่ เพื่อให้คนกลุ่มนี้ใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ โดยการแก้ไขร่างพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนครั้งนี้แก้ไขทั้งสิ้น 17 มาตรา อาทิ เรื่องกรรมสิทธิ์ การโอนและการเช่าที่ดิน การจัดทำตราสารจัดตั้งของโรงเรียน เป็นต้น" นายบัณฑิตย์กล่าว

วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6859 ข่าวสดรายวัน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ฉบับภาษาอังกฤษ (English Version)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่ได้ทำการแปล เป็น ภาษาอังกฤษ (English Version) ที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในฉบับนี้ ไม่ได้จัดทำเป็นรูปเล่ม แต่ทำในรูปไฟล์ (Soft Files) ให้แก่ผู้สนใจ ได้
http://www.curriculum51.net/viewpage.php?t_id=95

จุรินทร์" ยัน! ครูใช้ผลงานวิจัยเลื่อนวิทยฐานะได้

“จุรินทร์” ชูงานวิจัยส่วนสำคัญขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ชี้ครูเจ้าของงานวิจัยใช้ผลงานขอเลื่อนวิทยฐานะได้ ขณะที่ “รศ.ดร.วรากรณ์” เผยงานวิจัยต้องง่าย ใช้ประโยชน์ได้จริงทันที แนะ สกศ.กำหนดทิศทางให้ชัดเจน ส่งเสริมวิจัยระดับชาติ ระดับโรงเรียน


วันนี้ (10 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมวิชาการการวิจัยทางการศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 13 “ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา” ว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประยุกต์โดยนำผลงานวิจัยทางการศึกษา องค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ ต่อยอดในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการนำผลงานวิจัยทางการศึกษาที่มีคุณภาพระดับชาติ จำนวน 102 เรื่อง จากผลงานวิจัยที่เสนอเข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 369 เรื่องมาเผยแพร่ ซึ่งการวิจัยต่อยอดและพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ได้นั้น ต้องเข้าใจทิศทางและเป้าหมายที่ต้องเดินไปให้ถึงให้ตรงกันก่อนว่าคือ ทำอย่างไรให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ คุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่คนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ แหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการบริหารจัดการแนวใหม่ ซึ่งเป็นงานที่หนัก และต้องผนึกกำลังกันให้ได้ โดยเรื่องนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยในช่วงระยะเวลาต่อไป

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ตนจะนำผลที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ ไปกำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีการเตรียมโครงการต่างๆ ไว้รองรับแล้ว แต่ก็สามารถนำมาต่อยอดกันได้

“ใน ส่วนข้อเสนอของครูที่ต้องการนำผลงานวิจัยมาใช้ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ นั้น หากครูเป็นเจ้าของผลงานวิจัยก็สามารถนำมาใช้ประกอบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ได้อยู่แล้ว” รมว.ศธ.กล่าว

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษา กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การวิจัยกับการพัฒนาครู คณาจารย์เพื่อคุณภาพการศึกษา” ตอนหนึ่งว่า งานวิจัยเป็นการค้นหาความจริงเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ส่วน ใหญ่ครูจะมองว่างานวิจัยต้องใหญ่โต มองว่าเป็นเรื่องยาก ซับซ้อน ทั้งนี้ตนมองว่างานวิจัยที่ดีที่สุดต้องเป็นงานวิจัยแบบง่ายๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่ที่ผ่านมางานวิจัยส่วนใหญ่จะไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงอยากให้ครูให้ความสำคัญกับงานวิจัยแบบง่ายๆ อาทิ การวิจัยเรื่องจะสอนวิชาภาษาอังกฤษอย่างไรให้เด็กเข้าใจง่ายที่สุด รวมถึงระยะเวลา รายวิชาการเรียนของแต่ละวิชาว่าต้องใช้เวลาเท่าไร เด็กถึงจะสนใจ ที่สำคัญหากครูได้ทำงานงานวิจัยจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอน และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการสอนของตัวเอง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการนำงานวิจัยมาปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ควรกำหนดทิศทางการวิจัยให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการทำวิจัยทั้งระดับชาติ และระดับล่างในส่วนงานวิจัยภายในโรงเรียน เพื่อนำผลการวิจัย ข้อเสนอต่างๆ มาเป็นแนวทาง ในการปฏิรูปการศึกษารอบ 2



ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กันยายน 2552

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

กฎหมายการศึกษา

ผมได้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับกฏหมายทางการศึกษามาไว้ให้ได้มากที่สุดตามลิงค์เลยครับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00118091.PDF
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00151494.PDF

และรวมกฏหมายการศึกษา
http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/eduact/general/EducationLaw.htm

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

สอบครู

สอบครู เมื่อเร็วนี้ มีการเปิดสอบครู สพฐ. ที่ผ่านมาหลายคน คงจะไปสมัครสอบ มีทั้งสอบได้ และสอบตก ก็เป็นกำลังใจให้นะครับ เอาละครับ ผมมีแนวข้อสอบและตัวอย่างของการออกข้อสอบที่ผ่านมา โดยเนื้อหาบางส่วนท่านสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
http://www.sobkroo.com/