วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

บทความเกียวกับการพัฒนาหลักสูตรแกนกลาง

บทความเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรแกนกลาง 2551 ที่บอกแนวทางการพัฒนาหลักสูตร และบทบาทหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับ สพฐ. จนถึง สถานศึกษา โดย ดร.รุ่งนภา นุตราวงศ์

http://www.curriculum51.net/upload/cur_20090609101835.pdf

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับแก้ไขจ่อคลอด

พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับแก้ไขจ่อคลอด บุคลากร-ลูกจ้างเตรียมเฮได้กลับเข้าประกันสังคม

นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขร่างพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคลากรและลูกจ้างของโรงเรียนเอกชน อาทิ ภารโรง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คนขับรถ คนสวน ไม่สามารถเข้ากองทุนประกันสังคมได้นั้น หากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะทำให้บุคลากรและลูกจ้างกลุ่มนี้กลับเข้าสู่กองทุนประกันสังคมได้ตามมาตรา 33 ของพ.ร.บ.ประกันสังคมเหมือนเดิม และสามารถนับระยะเวลาส่งเงินสมทบต่อเนื่องกับระยะเวลาที่ส่งมาแล้วเดิมให้มีสิทธิตามที่กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมกำหนด และอยู่ภายในกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนต่อไปด้วย แต่บุคลากรและลูกจ้างจะต้องแจ้งความจำนงกลับเข้าสู่กองทุนประกันสังคมภายใน 150 วันหลังจากพ.ร.บ.มีผลบังคับใช้"ในระหว่างที่ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่มีการประกาศใช้ บุคลากรและลูกจ้างของโรงเรียนเอกชน ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของพ.ร.บ.ประกันสังคมไปก่อน และหากเป็นครูก็เข้ากองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนได้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาทุกฝ่ายต่างพยายามช่วยแก้ปัญหานี้กันอย่างเต็มที่ เพื่อให้คนกลุ่มนี้ใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ โดยการแก้ไขร่างพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนครั้งนี้แก้ไขทั้งสิ้น 17 มาตรา อาทิ เรื่องกรรมสิทธิ์ การโอนและการเช่าที่ดิน การจัดทำตราสารจัดตั้งของโรงเรียน เป็นต้น" นายบัณฑิตย์กล่าว

วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6859 ข่าวสดรายวัน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ฉบับภาษาอังกฤษ (English Version)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่ได้ทำการแปล เป็น ภาษาอังกฤษ (English Version) ที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในฉบับนี้ ไม่ได้จัดทำเป็นรูปเล่ม แต่ทำในรูปไฟล์ (Soft Files) ให้แก่ผู้สนใจ ได้
http://www.curriculum51.net/viewpage.php?t_id=95

จุรินทร์" ยัน! ครูใช้ผลงานวิจัยเลื่อนวิทยฐานะได้

“จุรินทร์” ชูงานวิจัยส่วนสำคัญขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ชี้ครูเจ้าของงานวิจัยใช้ผลงานขอเลื่อนวิทยฐานะได้ ขณะที่ “รศ.ดร.วรากรณ์” เผยงานวิจัยต้องง่าย ใช้ประโยชน์ได้จริงทันที แนะ สกศ.กำหนดทิศทางให้ชัดเจน ส่งเสริมวิจัยระดับชาติ ระดับโรงเรียน


วันนี้ (10 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมวิชาการการวิจัยทางการศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 13 “ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา” ว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประยุกต์โดยนำผลงานวิจัยทางการศึกษา องค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ ต่อยอดในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการนำผลงานวิจัยทางการศึกษาที่มีคุณภาพระดับชาติ จำนวน 102 เรื่อง จากผลงานวิจัยที่เสนอเข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 369 เรื่องมาเผยแพร่ ซึ่งการวิจัยต่อยอดและพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ได้นั้น ต้องเข้าใจทิศทางและเป้าหมายที่ต้องเดินไปให้ถึงให้ตรงกันก่อนว่าคือ ทำอย่างไรให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ คุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่คนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ แหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการบริหารจัดการแนวใหม่ ซึ่งเป็นงานที่หนัก และต้องผนึกกำลังกันให้ได้ โดยเรื่องนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยในช่วงระยะเวลาต่อไป

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ตนจะนำผลที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ ไปกำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีการเตรียมโครงการต่างๆ ไว้รองรับแล้ว แต่ก็สามารถนำมาต่อยอดกันได้

“ใน ส่วนข้อเสนอของครูที่ต้องการนำผลงานวิจัยมาใช้ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ นั้น หากครูเป็นเจ้าของผลงานวิจัยก็สามารถนำมาใช้ประกอบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ได้อยู่แล้ว” รมว.ศธ.กล่าว

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษา กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การวิจัยกับการพัฒนาครู คณาจารย์เพื่อคุณภาพการศึกษา” ตอนหนึ่งว่า งานวิจัยเป็นการค้นหาความจริงเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ส่วน ใหญ่ครูจะมองว่างานวิจัยต้องใหญ่โต มองว่าเป็นเรื่องยาก ซับซ้อน ทั้งนี้ตนมองว่างานวิจัยที่ดีที่สุดต้องเป็นงานวิจัยแบบง่ายๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่ที่ผ่านมางานวิจัยส่วนใหญ่จะไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงอยากให้ครูให้ความสำคัญกับงานวิจัยแบบง่ายๆ อาทิ การวิจัยเรื่องจะสอนวิชาภาษาอังกฤษอย่างไรให้เด็กเข้าใจง่ายที่สุด รวมถึงระยะเวลา รายวิชาการเรียนของแต่ละวิชาว่าต้องใช้เวลาเท่าไร เด็กถึงจะสนใจ ที่สำคัญหากครูได้ทำงานงานวิจัยจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอน และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการสอนของตัวเอง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการนำงานวิจัยมาปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ควรกำหนดทิศทางการวิจัยให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการทำวิจัยทั้งระดับชาติ และระดับล่างในส่วนงานวิจัยภายในโรงเรียน เพื่อนำผลการวิจัย ข้อเสนอต่างๆ มาเป็นแนวทาง ในการปฏิรูปการศึกษารอบ 2



ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กันยายน 2552

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

กฎหมายการศึกษา

ผมได้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับกฏหมายทางการศึกษามาไว้ให้ได้มากที่สุดตามลิงค์เลยครับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00118091.PDF
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00151494.PDF

และรวมกฏหมายการศึกษา
http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/eduact/general/EducationLaw.htm

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

สอบครู

สอบครู เมื่อเร็วนี้ มีการเปิดสอบครู สพฐ. ที่ผ่านมาหลายคน คงจะไปสมัครสอบ มีทั้งสอบได้ และสอบตก ก็เป็นกำลังใจให้นะครับ เอาละครับ ผมมีแนวข้อสอบและตัวอย่างของการออกข้อสอบที่ผ่านมา โดยเนื้อหาบางส่วนท่านสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
http://www.sobkroo.com/