วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเป็นผู้นำ

ทฤษฎีการเป็นผู้นำ
(เอกสารที่ได้รับจากการอบรมวิทยากรพี่เลี้ยง 2 – 16 มกราคม 2548 ณ โรงแรมวินเซอ์ กทม.
ผู้นำทฤษฎี และปีที่คิดค้น

สรุปสาระสำคัญ

ทฤษฎีบุคคลผู้ยิ่งใหญ่
(Great-Man Theories)
Dowd (1936)สถาบันทางประวัติศาสตร์และสังคมย่อมได้รับอิทธิพลจากการเป็นผู้นำของบุคคล ผู้ยิ่งใหญ่ (เช่น โมเสส, พระมะหะหมัด, โจนออฟอาร์ก, วอชิงตัน, คานธี, เชอร์ชิล เป็นต้น) Dowd (1936) กล่าวว่า "การใช้มวลชนเป็น ผู้นำนั้นไม่เคยมีอยู่จริง ปัจเจกชนในทุกสังคม มีระดับปัญญา พลังงาน และพลังทางศีลธรรมแตกต่างกันไป และไม่ว่ามวลชนจะถูกอิทธิพลชักนำไปในทางใดก็ตาม ในท้ายที่สุดก็ย่อมถูกชักนำโดยคนเพียงไม่กี่คนที่เหนือกว่าพวกตน"

ทฤษฎีคุณลักษณะ
(Situational Theories)
L. l. Barnard (1926); Bingham (1927); Kilbourne (1935); Kirkpatrick & Locke (1991); Kohs & lrle (1920); Page (1935); Tead (1929)เนื่องจากผู้นำมีคุณสมบัติเฉพาะและบุคลิกลักษณะที่เหนือกว่าจึงทำให้แตกต่างจากผู้ตาม การวิจัยเรื่องทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำมุ่งตอบสองคำถามดังต่อไปนี้ ผู้นำมีลักษณะที่ต่างจากผู้อื่นอย่างไร และความแตกต่างนั้นมีอยู่มากน้อยเพียงใด

ทฤษฎีสถานการณ์(Situational Theorise)
Bogardus (1918); Hersey & Blanchard (1972); Hocking (1924); Person (1928); H. Spencer การเป็นผู้นำเป็นผลมาจากสถานการณ์ที่บีบบังคับ กล่าวคือปัจจัยทางสถานการณ์จะเป็นเครื่องตัดสินว่าใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำ ส่วนลักษณะเฉพาะของบุคคลที่มีมาแต่กำเนิดนั้นไม่ใช่เครื่องตัดสิน ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จึงเป็นผลมาจากเวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อม

ทฤษฎีบุคคล-สถานการณ์
(Personal-Situational Theories)Barnard (1938); Bass (1960); J.F. Brown (1936); Case (1933); C.A. Gibb (1947, 1954); Jenkins (1947); Lapiere (1938); Murphy (1941); Westburgh (1931)ทฤษฎีบุคคล-สถานการณ์แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้นำเกิดจากบุคคลผู้ยิ่งใหญ่มีคุณสมบัติเฉพาะที่ผู้อื่นไม่มี และเป็นผู้นำได้เนื่องจากสถานการณ์พาไป การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการศึกษาเรื่องการเป็นผู้นำควรพิจารณาเรื่องคุณสมบัติอารมณ์ ด้านความฉลาด และด้านการกระทำ ตลอดจนเงื่อนไขเฉพาะต่าง ๆ ที่มาจำกัดการปฏิบัติงานของบุคคลผู้นั้น เงื่อนไขดังกล่าวรวมถึง (1) คุณสมบัติเฉพาะเรื่องบุคลิกภาพ (2) ลักษณะธรรมชาติของกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม (3) เหตุการณ์ที่กลุ่มเผชิญอยู่

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(Psychoanalysis Theories) Erikson (1964); Frank (1939); Freud (1913, 1922); Fromm (1941); H. Levison (1970); Wolman (1971) ผู้นำทำหน้าที่เหมือนผู้เป็นพ่อ คือเป็นที่รัก
และเกรงขาม และเป็นตัวแทนของอภิอัตตา (superego) เป็นที่ให้ผู้ตามระบายอารมณ์ความรู้สึกคับข้องใจและความก้าวร้าว

ทฤษฎีมนุษยนิยม
(Humanistic Theories)
Argyris (1957, 1962, 1964); Blake & Mouton (1964, 1965); Hersey & Blanchard (1969, 1972); Likert (1961, 19670; Maslow (1965); McGregor (1960, 1966) ทฤษฎีมนุษย์นิยมว่าด้วยเรื่องพัฒนาการของบุคคลในองค์กรอย่างดี ทฤษฎีนี้เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทำอะไรตามแรงจูงใจ ส่วนองค์กรจะทำตามโครงสร้างและมีการควบคุม ดังนั้นการเป็นผู้นำก็คือการช่วยปรับข้อจำกัดขององค์กรเพื่อทำให้บุคคลมีเสรีภาพมากขึ้น สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพของตนและมีส่วนเกื้อกูลองค์กรได้

ทฤษฎีผู้นำ-บทบาท
(Leader-Role Theory)
Homans (1950); Kahn & Quinn (1970); Kerr & Jermier (1978); Mintzberg (1973); Osborn & Hunt (1975) ลักษณะของบุคคลและสถานการณ์ที่บีบบังคับทำให้บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้ กลุ่มต่าง ๆ จัดโครงสร้างตามการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม การจัดระเบียบภายในกลุ่มจึงเป็นไปตามบทบาทและตำแหน่งฐานะต่าง ๆ การเป็นผู้นำเป็นบทบาทหนึ่งที่แตกต่างจากบทบาทอื่น ๆ ในกลุ่ม และคนในกลุ่มก็คาดหวังให้ผู้นำมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากคนอื่นพฤติกรรมของผู้นำแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการรับรู้เรื่องบทบาท
ของตนและความคาดหวังที่ได้รับจากคนอื่น ๆ Mintzberg อธิบายบทบาทการเป็นผู้นำไว้ว่าคือ ผู้เป็นประธานแต่ในนาม ผู้นำ ผู้ประสานงาน ผู้ตรวจสอบ ผู้กระจายข้อมูล โฆษกขององค์กร ผู้ประกอบการ ผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรค ผู้จัดสรรทรัพยากร และผู้เจรจา

ทฤษฎีวิถีทาง-เป้าหมาย
(Path-Goal Theory)
M. G. Evans (1970); Georgopoulos, mahoney, & Jones (1957); House (1971); House & Dessler (1974) ผู้นำทำให้ผู้ตามเปลี่ยนแปลงตนเองโดยแสดงให้ผู้ตามเห็นพฤติกรรม (วิถีทาง) ที่ทำแล้วจะได้ผลตอบแทน ผู้นำยังทำให้ผู้ตามมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น ให้กำลังใจผู้ตามให้ทำหน้าที่ให้ดี ปัจจัยด้านสถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้นำจะบรรลุจุดมุ่งหมายที่เป็นวิถีทาง-เป้าหมายได้อย่างไร

ทฤษฎีสิ่งที่ไม่คาดหมาย
(Contingency Theory)
Fieldler (1967); Fiedler, Chemers, & Mahar (1976)ผู้นำที่เน้นภารกิจหรือความสัมพันธ์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิผลหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โครงการฝึกอบรมการเป็นผู้นำตามทฤษฎีนี้ช่วยให้ผู้นำระบุแนวทางของตนได้ และช่วยให้ปรับตัวตามสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยหรือไม่เอื้ออำนวยได้ดียิ่งขึ้น

การเป็นผู้นำโดยใช้ปัญญา : ทฤษฎีบุคคลผู้ยิ่งใหญ่
(Cognitive Leadership: Twentieth Century Great-Man)H. Gardner (1995)ผู้นำเป็น "บุคคลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความคิด และ/หรือความรู้สึกของเพื่อมนุษย์เป็นจำนวนมากได้ด้วยคำพูดหรือการทำตนเป็นตัวอย่าง" ความเข้าใจในธรรมชาติของจิตมนุษย์ทั้งของผู้นำและผู้ตามช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของการเป็นผู้นำได้

ทฤษฎีและแบบจำลองกระบวนการแบบโต้ตอบ : แบบจำลองการเชื่อมโยงทวีคูณ, แบบจำลองหลายหน้าจอ, แบบจำลองลักษณะการเป็นผู้นำที่เปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของผู้ตาม, ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน, ทฤษฎี Multiple-Screen Model, Vertical-Dyad Linkage, Exchange Theories, Behavior Theories, and Communication Theories)พฤติกรรม, และทฤษฎีการสื่อสาร(Theories and Models of Interactive Processes: Multiple-Linkage Model,
การเป็นผู้นำเป็นกระบวนการแบบโต้ตอบ เช่น ทฤษฎีเรื่องโครงสร้างความคิดริเริ่มของผู้นำความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดของผู้นำกับผลการทำงานของกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตามแต่ละคน และการโต้ตอบกันทางสังคมในฐานะรูปแบบหนึ่งของการแลกเปลี่ยนหรือการทำพฤติกรรมที่ไม่ได้คาดหมายมาก่อน

ทฤษฎีอำนาจ-อิทธิพล การเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วม เหตุผล-การอนุมาน (Power-Knfluence: Participative Leadership, Rationale Deductive)Coch & French (1948); J. Gardner (1990); Lewin, Lippitt, & White (1939); Vroom & Yetton (1974) การเป็นผู้นำแบบอำนาจ-อิทธิพลมีความหมายรวมถึงการเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วมการวิจัยเรื่องอำนาจ-อิทธิพลศึกษาว่าผู้นำมีอำนาจและใช้อำนาจมากน้อยเพียงไร และยังศึกษาเรื่องความเป็นสาเหตุแบบทิศทางเดียวอีกด้วยการเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันอำนาจและการให้อำนาจผู้ตาม Vroom & Yetton เสนอทฤษฎีการเป็นผู้นำแบบออกคำสั่งว่า ผู้นำเป็นผู้ออกคำสั่ง ส่วนลูกน้องเป็นผู้ทำตามโดยไม่โต้เถียง แต่เมื่อ
ผู้ตามมีความรู้มากขึ้นก็น่าจะมีส่วนร่วมได้มากขึ้น Gardner เชื่อว่า "การเป็นผู้นำเป็นกระบวนการโน้มน้าวจิตใจหรือทำตนเป็นตัวอย่าง โดยบุคคลที่เป็นผู้นำ (หรือกลุ่มผู้นำ) โน้มน้าวให้กลุ่มทำตามจุดประสงค์ที่ผู้นำกำหนดไว้ หรือจุดประสงค์ที่ผู้นำกับผู้ตามมีร่วมกัน" Gardner ชี้ว่าการเป็นผู้นำคือบทบาทหนึ่งที่จำเป็นต้องมี ดังนั้นผู้นำทั้งหลายจึงมีบทบาทสำคัญในระบบที่ตนนำอยู่
การเห็นคุณสมบัติ การประมวลสารสนเทศและระบบเปิด
(Attribution, Information Processing, and Open Systems)Bryon & Kelley (1978); Katz & Kahn (1966); Lord (1976,1985); Lord, Binning, Rush, & Thomas (1978)l Mitchell, Larsen, & Green (1977); Newell & Simon (1972); H.M. Weiss (1977)การเป็นผู้นำคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม Mitchell และคณะ กล่าวว่า "การที่ผู้สังเกตการณ์และสมาชิกกลุ่มเห็นว่าการจะเป็นผู้นำได้ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างไรบ้างนั้น ย่อมจะลำเอียงไปตามความเป็นจริงทางสังคมของแต่ละคน" ยิ่งกว่านั้นในการศึกษาเรื่องการเป็นผู้นำพบว่า ตัวแปรด้านบุคคล กระบวนการ โครงสร้างและสิ่งแวดล้อม ต่างเป็นปรากฎการณ์ที่เป็นสาเหตุและผลที่เกิดจากตัวแปรเหล่านี้จึงทำได้ยาก

ทฤษฎีบูรณาการ : เปลี่ยนแปลง, เน้นเรื่องค่านิยม (Integrative : Transformational, Value-Based)
Bass; Bennis (1984, 1992, 1993); Burns (1978); Downton (1973); Fairholm (1991); Otoole (1995); DePree (1992); Tichy & Devanna; Renesch Burnsกล่าวไว้ว่าการเป็นผู้นำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่ "ผู้นำและผู้ตามต่างยกระดับศีลธรรมและแรงจูงใจของกันและกันให้สูงยิ่งขึ้น" ผู้ตามควรจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในระยะยาว และพัฒนาความตระหนักรู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญ หน้าที่สามประการคือ ปรับแนวทางให้สอดคล้อง สร้างสรรค์และปลดปล่อยศักยภาพผู้นำจึงเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยการปรับให้ทรัพยากรอื่น ๆ ให้เอื้อต่อการแสดงความคิดเห็นโดยเสรี และปลดปล่อยศักยภาพผู้อื่นในการมีส่วนเกื้อกูลองค์กร Bernnis ได้ชื่อว่าเป็นผู้แยกแยะความแตกต่างระหว่างการจัดการและการเป็นผู้นำเป็นนิสสรุปความคิดของตัวเองได้ดีที่สุดว่า "ผู้นำคือผู้ทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วน
ผู้จัดการคือผู้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม"

ทฤษฎีการเป็นผู้นำด้วยบารมี
(Charismatic Leadership)Conger & Kanungu (1987); House (1977); Kets de Vries (1988); J. Maxwell (1999); Meindl (1990); Shamir, House & Arthur (1993); Weber (1947) การเป็นผู้นำด้วยบารมีถือเอาสมมติฐานว่า ผู้นำย่อมมีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นพิเศษตามความรับรู้ของผู้ตาม อิทธิพลของผู้นำไม่ได้อยู่ที่สิทธิอำนาจหรือธรรมเนียมประเพณี แต่อยู่ที่ความรับรู้ของผู้ตาม คำอธิบายต่าง ๆ เรื่องการเป็นผู้นำด้วยบารมี ครอบคลุมถึงประเด็นการเห็นคุณสมบัติ การสังเกตอย่างเป็นวัตถุวิสัย ทฤษฎี และการคล้อยตามกันในสังคม

ทฤษฎีเน้นความสามารถ
(Competency-Based Leadershiop)
Bennis (1993); Boyatizis; Cameron; Quinnคนเราเรียนรู้และปรับปรุงความสามารถสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผู้ทำงานได้ดีเยี่ยม (ผู้นำ) และผู้ทำงานได้ปานกลาง

ทฤษฎีการเป็นผู้นำที่มี
แรงบันดาลใจและมองการณ์ไกล
(Aspirational and Visionary Leadership)
Burns; Kouzes & Posner (1995); Peters; Waterman (1990); Richards & Engle (1986) Kouzes and Posner กล่าวว่า ผู้นำ "จุด" ไฟในการทำงานของผู้ตาม และทำหน้าที่เป็นเข็มทิศนำทางให้ผู้ตาม ทั้งสองคนนิยามการเป็นผู้นำไว้ว่า "การเป็นผู้นำคือการมีศิลปะในการชักจูงคนอื่น ๆ ให้ต้องการฟันฝ่าเพื่อบรรลุผลสมตามแรงบันดาลใจที่มีร่วมกัน" คำอธิบายนี้ได้เน้นถึงความปรารถนาของ
ผู้ตามในการมีส่วนร่วมเกื้อกูลองค์กร และความสามารถของ ผู้นำในการจูงใจให้ผู้อื่นลงมือกระทำ ผู้นำตอบสนองต่อลูกค้า สร้างวิสัยทัศน์ ให้พลังแก่ผู้ตามและเจริญรุ่งเรืองในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและ "สับสนวุ่นวาย" การเป็นผู้นำจึงเกี่ยวข้องกับการประกาศวิสัยทัศน์ให้ชัดแจ้ง เชิดชูและประพฤติตนตามค่านิยม ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ทำงานได้สำเร็จ

ทฤษฎีการเป็นผู้นำที่ใช้การจัดการและยุทธศาสตร์(Managerial and Strategic Leadership)
Drucker (1999); Jacobs & Jaques (1990); Jaques & Clement (1991); Kotter (1998, 1999) การเป็นผู้นำแสดงให้เห็นการบูรณาการโดยรวมหุ้นส่วนภายในและภายนอกองค์กรเข้าเป็นหนึ่งเดียว Drucker กล่าวว่า
การบูรณาการมีองค์ประกอบสามประการคือ ด้านการเงิน การทำงาน และบุคคล ผู้นำต้องรับผิดชอบผลการทำงานขององค์กรและรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรวม ผู้นำเป็นผู้มีบทบาทที่ต้องแสดงและมีบุคลิกลักษณะพิเศษKotler กล่าวไว้ว่า ผู้นำสื่อสารเรื่องวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์กร ทำให้ผู้คนทำงานสอดคล้องกัน คอยจูงใจ บันดาลใจและให้พลังแก่ผู้ตาม ผู้นำยังเป็นผู้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้ให้อำนาจแก่คนของตน ดังนั้นการเป็นผู้นำจึงเป็นกระบวนการให้จุดมุ่งหมาย (ทิศทางที่มีความหมาย) แก่ความพยายามร่วมกันของกลุ่มและกำกับให้กลุ่มใช้ความพยายามอย่างเต็มใจนั้นเพื่อการบรรลุเป้าหมาย การเป็นผู้นำที่ใช้การจัดการได้อย่างมีประสิทธิผลย่อมทำให้งานด้านการจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีเหล่านี้สนับสนุนการเป็นผู้นำท่ขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ บุคคลและสถานการณ์

ทฤษฎีเน้นผลลัพธ์
(Results-Based Leadership)Ulrich,, Zenger, & Smallwood (1999) Ulrich และคณะ เสนอแนวคิดเรื่องลักษณะการเป็นผู้นำที่ "อธิบายผลการทำงานอันชัดเจนที่ผู้นำทำให้เกิดขึ้น" และเชื่อมโยงผลนั้นกับบุคลิกลักษณะนิสัยของผู้นำ ผู้นำมีลักษณะเป็นผู้มีศีลธรรม มีความซื่อตรงต่อตนเองและมโนธรรม และเปี่ยมไปด้วยพลังงาน ทั้งยังมีความรู้ด้านเทคนิคและความคิดเชิงยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ผู้นำยังมีพฤติกรรมที่มีประสิทธิผลซึ่งนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และเนื่องจากเราสามารถวัดผลของการเป็นผู้นำได้ เราจึงสามารถสอนและเรียนวิธีการเป็นผู้นำได้

ทฤษฎีผู้นำที่แสดงบทบาทครู
DePree (1992); Tichy (1998) (Leader as Teacher) ผู้นำทำหน้าที่เป็นครูวาง "ทัศนะที่สอนกันได้" การเป็นผู้นำคือการจูงใจผู้อื่นด้วยยกตัวอย่างเรื่องราวต่างๆ เป็นอุทาหรณ์สอนใจ Tichy กล่าวว่าการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลก็เท่ากับการสอนที่มีประสิทธิผลนั้นเองการเป็นผู้นำเป็นศิลปะการแสดง
(Leadership as a Performing Art)DePree (1992); Mintzberg (1998); Vaill (1989) การเป็นผู้นำมีลักษณะปกปิดในแง่ที่ว่าผู้นำจะไม่ทำกิจเป็นผู้นำให้ปรากฏชัดแจ้ง (ตัวอย่างเช่น การจูงใจ การสอนทักษะ ฯลฯ) แต่จะทำกิจที่คนมักมองไม่ค่อยเห็น ซึ่งครอบคลุมไปถึงงานทุกอย่างที่ผู้นำหรือผู้จัดการทำ หากเราเปรียบเทียบการเป็นผู้นำกับศิลปะการแสดง ก็คงเปรียบได้กับวาทยกรที่กำกับของวงออเคสตราให้ประสนเสียงกันและวงดนตรีแจ๊สที่ต่างคนต่างด้นสด

ทฤษฎีการเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมและองค์รวม(Cultural and Holistic Leadership)
Fairholm (1994); Senge (1990); Schein (1992); Wheatley (1992) การเป็นผู้นำคือ ความสามารถที่จะก้าวพ้นวัฒนธรรมออกมาเพื่อเริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้องค์กรปรับตัวได้ง่ายขึ้น การเป็นผู้นำคือความสามารถรวมเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนสำคัญ ๆ ทำให้เกิดผู้ตาม และให้อำนาจแก่ผู้อื่น
แนวทางแบบองค์รวมของ Wheatley มีสมมติฐานว่าการเป็นผู้นำนั้นขึ้นกับบริบทและระบบ ผู้นำทำให้บุคคล องค์กร และ
สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับแบบผนึกพลัง ผู้นำสนับสนุนให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติตามวินัยห้าประการ
Senge กล่าวไว้ว่า ผู้นำมีสามบทบาทคือ เป็นผู้ออกแบบ ผู้ให้บริการ และครูผู้สอน

ทฤษฎีการเป็นผู้นำที่เป็นผู้รับใช้
(Servant Leadership)
Greenleaf (1996); Spears & Frick (1992) การเป็นผู้นำที่เป็นผู้รับใช้หมายความว่า ผู้นำย่อมรับใช้ผู้อื่น เช่น ลูกจ้าง ลูกค้า และชุมชน ผู้นำที่เป็นผู้รับใช้จะมีลักษณะรับฟังผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ รู้จักปลอบใจ มีความตระหนักในเรื่องต่าง ๆ ดี รู้จักจูงใจผู้ตาม รู้จักคิดอย่างมีมโนทัศน์ภาพรวม มีสายตากว้างไกล รู้จักบริการผู้อื่น ผูกพันมุ่งมั่นในการส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้อื่นและการสร้างชุมชน

ทฤษฎีการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ
(Spiritual Leadership)
DePree (1989); Etzioni (1993); Fairholm (1997); Greenleaf (1977); Hawley (1993); Kelfer (1992); J. Maxwell; Vaill (1989) การเป็นผู้นำคือการมีอิทธิพลต่อจิตใจผู้อื่นแทนที่จะคอยควบคุมการกระทำ Fairholm เชื่อว่าการเป็นผู้นำคือการเชื่อมโยงตนเองเข้ากับผู้อื่น นอกจากนี้ "เนื่องจากผู้นำผูกพันมุ่งมั่นดูแลบุคคลองค์กรรวม จึงต้องดูแลจิตใจของคนด้วย ผู้นำในศตวรรษใหม่ต้องคำนึงถึงและพยายามสร้างความการเชื่อมโยงเหล่านี้สำหรับตนเองก่อน แล้วจากนั้นจึงช่วยผู้ตามสร้างความเชื่อมโยงเหล่านี้ด้วยเช่นกัน" อิทธิพลของผู้นำจึงมาจากความรอบรู้เรื่องวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ค่านิยม และประเพณีองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น