วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จุฬาฯ ซัด สมศ.ยุ่งประเมินหลักสูตร จี้ย้อนดูบทบาทตัวเองเป็นแค่คนนอก

จุฬาฯ ข้องใจ สมศ.จัดอันดับมหา’ลัยได้อะไร จวกไม่ควรยุ่งประเมินหลักสูตร จี้ย้อนดูบทบาทผู้ประเมินภายนอกของตัวเอง ควรมุ่งดูผลลัพธ์และผลกระทบ ชี้เอาลำดับเป็นตัวตั้งยิ่งไม่ดีต่อมหา’ลัย

วันนี้(1 ก.ย.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแถลงข่าวเรื่อง “ประเมินคุณภาพและจัดอันดับมหาวิทยาลัย ถูกต้องเป็นธรรมจริงหรือ?” โดย ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี (ด้านการจัดการคุณภาพ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เกณฑ์การประเมินคุณภาพจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ไม่ควรเน้นการประเมินในระดับกระบวนการ แต่ควรมุ่งเน้นในระดับผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบมากกว่า เพราะจุดยืนของสมศ. คือ ผู้ประเมินภายนอก ส่วนระดับกระบวนการภายใน ควรปล่อยให้สำนักการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นผู้ทำหน้าที่แทนสมศ. ไม่ควรเข้าประเมินหลักสูตรอย่างเด็ดขาด

“สม ศ.ไม่ควรประเมินภาพที่เน้นภาพรวมของสถาบัน หรือแม้แต่ในระดับกลุ่มสาขา ด้วยเกณฑ์เดียวกัน เพราะต่างสถาบัน บริบทก็จะต่างกันเกินจะเทียบเคียงได้ แต่หากเป็นการประเมินที่ระดับสาขา เช่น แพทย์เทียบแพทย์ ทันตแพทย์เทียบทันตแพทย์ ซึ่งอาจจะเกิดภาพสะท้อนที่ดีกว่า

ไม่ควรเป็นไปเพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยเด็ดขาด เพราะหากเริ่มที่จะจัดลำดับเป็นตัวตั้งการออกแบบ และการกำชับใช้ระบบจะเป็นปัญหา ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อมหาวิทยาลัย” ผู้ช่วยอธิการบดี (ด้านการจัดการคุณภาพ) กล่าว

ผศ.ประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำการประเมินควรกำหนดแนวทางส่งเสริม และยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยใน 3 ระดับ ดังนี้ ขั้นต่ำ ขั้นสูงเกินมาตรฐาน และขั้นชั้นแนวหน้า และที่สำคัญการประเมินศักยภาพบัณฑิต จากระบบประเมินความพอใจของผู้ใช้บัณฑิต จากเดิมที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำผลมารายงานต่อ สมศ.ควรเปลี่ยนเป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งนอกจากจะเกิดความเป็นธรรมแล้ว ยังเป็นบรรทัดฐานที่พอจะเปรียบเทียบได้ ยิ่งไปกว่านั้นเท่ากับเป็นการติดตามสถานการณ์ความต้องการแรงงานของประเทศ การพัฒนาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ขณะที่ ผศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึง บทบาทของสถาบันการศึกษาที่มีผลของการประเมินคุณภาพและจัดอันดับมหาวิทยาลัย ว่า ปัจจุบันบรรยากาศของมหาวิทยาลัยนับวันจะยิ่งแข่งขันกันเอง สถาบันจัดอันดับส่วนใหญ่มักไม่เปิดเผยวิธีการรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลที่ใช้ในการจัดอันดับที่ชัดเจน

“การจัดอันดับแต่ละครั้งไม่ได้ครอบคลุมมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ในขณะเดียวกัน บางสถาบันก็ไม่ได้สมัครใจ ซึ่งผลที่ได้จึงไม่ปรากฏว่ามีเกณฑ์กลางหรือตัวชี้วัดที่สามารถวัดคุณภาพ ของมหาวิทยาลัยได้ครบถ้วน ทุกด้าน เพราะการจัดอันดับแต่ละสถาบันมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน” ผศ.ดร.รัฐชาติ กล่าว




ที่มา - ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ตุลาคม 2552 20:52 น.

รมช."นริศรา"สานต่อพ.ร.บ.การอาชีวศึกษา หนุนสายอาชีพเรียน ป.โท-เอก

น.ส.นริศ รา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่าทางอาชีวศึกษามีแค่ปวช.ซึ่งเทียบเท่าม.6 ก็สามารถต่ออนุปริญญาก็คือ ปวส.1-2 เท่านั้น ถ้าเรียนสายอาชีพระดับการศึกษาการเรียนพื้นฐานจะต่างกัน ในการเรียนสายอาชีพจะมีการฝึกอาชีพ 50 เปอร์เซ็นต์ ถึง 70 เปอร์เซ็นต์

ที่มา - ข่าวสดรายวัน หน้า 29 - วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6881

http://www.kruthai.info/main/board03_/show.php?Category=newsedu&No=277